ประวัติครูกายแก้ว

    ครูกายแก้ว เป็นผู้บําเพ็ญเพียรที่มีวิชาตบะแก่กล้า เมื่อราวพันปีก่อน ในสมัยยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีวิชาอาคมไสยเวทย์เป็นที่เรืองเวทย์มากท่านหนึ่งในยุคนั้น
จึงได้รับการขนานนามว่าเป็น
“บรมครูผู้เรืองเวทย์”
แม้สังขารกายหยาบจะเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แต่จิตวิญญาณที่ฝึกฝนบ้าเพ็ญตบะบารมีที่แกร่งกล้า
กลับมิได้สลายตามไปด้วย ทําให้ดวงจิตวิญญาณของท่านจึงสําเร็จ เป็นกิเลสพรหมชั้นสูง (อสูรเทพ, เทพมาร)
ชั้นที่ ๖ คือ ชั้นปรนิมมิตวสัตดีพรหม มิใช่มารในสันดานหากแต่เป็นมารเพื่อที่จะมาทดสอบก่อน พระพุทธเจ้าจะสําเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
จึงเชื่อกันว่าท่านเป็น “เทพที่ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด” ทําให้เข้าใจหลักการของมนุษย์ มีความรัก, โลภ, โกรธ, หลง แสวงหาความร่ำรวย และ ความสุขสบายต่างๆ
ครูจึงสามารถดลบันดาล ความร่ำรวยความสําเร็จสมหวัง
ให้กับผู้ที่นับถือศรัทธาท่านจากใจจริงได้อย่างปาฎิหารย์นั่นเอง
อีกทั้งยังมีผู้สืบทอดในวิชา คอยดูแลท่านต่อเรื่อยมาเป็นรุ่นสู่รุ่น
จนเมื่อมาถึงครั้งหนึ่งมีพระองค์หนึ่งได้เดินทางไปธุดงค์ เพื่อปฏิบัติธรรมทำสมาธิที่ ปราสาทนครวัดนครธม ประเทศกัมพูชา จนมีโอกาสได้สืบทอดดูแลครูกายแก้ว และ ได้ร่ำเรียนวิชา ต่อมาเมื่อได้เดินทางกลับมา พระองค์นั้นได้นําองค์จําลองของ ครูกายแก้วกลับมาด้วยโดยมาอยู่ที่ จังหวัดลําปาง ต่อมาพระธุดงค์องค์นั้นได้มอบครูกายแก้ว ให้กับลูกศิษย์คนหนึ่งชื่อ จ่าสิบเอกถวิล มิลินทจินดา ที่ใครๆก็เรียกว่าพ่อหวิน ซึ่งองค์จําลองของครูกายแก้วดั้งเดิม จะเป็นเพียงองค์เล็กๆ เป็นท่านั่งยหยองๆ กอดเข่า ที่อยู่ในลักษณะ มือสองข้างจับเข่า ซึ่งหลังจากนั้นพ่อหวินจึงได้ มอบครูกายแก้วให้แก่ อาจารย์สุชาติ รัตนสุข เป็นเวลาต่อมา
หลังจากที่ท่านอาจารย์สุชาติ รับมอบครูกายแก้วมาแล้วนั้น
ท่านก็มาปรากฏกายให้อาจารย์สุชาติได้เห็นในตอนนั้นเอง อาจารย์สุชาติจึงทําการวาดภาพของครูกายแก้วตามนิมิต และจินตนาการ รูปลักษณ์ครึ่งมนุษย์ครึ่งบก ด้านหลังมีปีก ที่ปากมีเขี้ยวคล้ายนกการเวก มีเล็บมือยาว นัยตาสีแดง คล้ายคนแก่ร่างผอมๆยืนอยู่ จึงได้ทําการหล่อองค์ครูขึ้นเป็นปติมากรรม (ต้นแบบ) ของผู้บําเพ็ญตน อยู่ในท่าขัดสมาธิ มีหน้าตาน่าเกรงขาม เป็นครั้งแรก จุดประสงค์ก็เพื่อเป็นการบูชาครูนั่นเอง
ปัจจุบันผู้ที่สืบทอดครอบครอง ดูแลครูกายแก้ว และวิชาอาคมต่างๆต่อจากท่านอาจารย์สุชาตินั้นมีเพียงหนึ่งเดียว
ที่ถูกต้องตาม ศักดิ์ และสิทธิ์อย่างแท้จริงนั้นคือ
“อาจารย์หน่อยพลิกฟ้า”
(สมสฤษดิ์ รัตนสุข บุตรชายในสายเลือด ลําดับที่ ๒ ของอาจารย์สุชาติ) ณ เวลานี้ ความเคารพศรัทธา ที่คนกลุ่มหนึ่งมีต่อครูกายแก้วนั้น
ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นเรื่องที่มีผู้นับถือกันมาหลายปีแล้ว ต่างรู้กันดี และพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า
“ขอที่ไหนไม่ได้ .. ให้มาลองขอครูกายแก้ว!” ซึ่งนับวันก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆ
โดยสถานที่สักการะครูกายแก้วที่เด่นๆ
จัดสร้างโดย อาจารย์สุชาติ รัตนสุข
และ อาจารย์หน่อย สมสฤษดิ์ รัตนสุข ร่วมกันนั้นก็อย่างเช่น ๑.) เทวาลัยพระพิฆเนศ สี่แยกห้วยขวาง กทม.
๒.) วัดยานนาวา กทม.
๓.) ศาลพระพิฆเนศ อาเขต จ.เชียงใหม่
๔.) หน้าน้ำตกแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นต้น
และล่าสุด อาจารย์หน่อย ได้มีการสร้างแลนด์มาร์คแห่งใหม่ ที่เป็นไวรัลสนั่นเมือง นั่นคือ
“ศาลครูกายแก้ว องค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก” อุบัติขึ้นที่บริเวณ ลานโรงแรม เดอะ บาซ่าร์ แบงค็อก รัชดาภิเษก ซึ่งได้มีการทําพิธีบวงสรวงไปเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๖ ที่ผ่านมา
ดังนั้นอย่าพึ่งเชื่อจนกว่าจะได้พิสูจน์!
แต่หากเราจะมองข้ามเรื่องความเชื่อนี้ไป แล้วร่วมกันผลักดันให้มูเตลู กลายเป็นการท่องเที่ยวอีกมิติหนึ่ง ควบคู่กันไปกับ การท่องเที่ยว เชิงธรรมชาติเป็น Soft Power เพื่อที่จะทําให้คนทั่วโลกได้รู้จัก ประเทศเราเพิ่มมากขึ้น นี่น่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้
มหาศาลให้แก่ประเทศเราไม่น้อยเลยทีเดียว